- โรคเอ็มพ็อกซ์เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสฝีดาษลิง
- ซึ่งไม่ง่ายที่จะแพร่กระจายระหว่างคนและมักเกิดจากการสัมผัสทางกายหรือการสนิทสนมทางเพศ (ผิวหนังต่อผิวหนัง) กับผู้ติดเชื้อเป็นเวลานาน
- หากคุณมีอาการ คุณควรไปพบแพทย์และตรวจ และจํากัดการสัมผัสกับผู้อื่นจนกว่าคุณจะได้รับทราบผลการตรวจ
- วัคซีนเอ็มพ็อกซ์มีให้ทั่วไปในรัฐวิกตอเรีย และหากคุณมีสิทธิ์ คุณสามารถรับการฉีดวัคซีนได้ทันที
- ผู้ที่ได้รับเข็มแรกมาแล้วอย่างน้อย 28 วันควรได้รับเข็มที่สอง
- การฉีดวัคซีนเป็นบริการฟรีสําหรับผู้ที่มีสิทธิ์ผ่านคลินิกสุขภาพทางเพศและบริการด้านสุขภาพ
On this page
- โรคเอ็มพ็อกซ์คืออะไร?
- โรคเอ็มพ็อกซ์แพร่กระจายอย่างไร
- ใครบ้างที่มีความเสี่ยง
- อาการของโรคเอ็มพ็อกซ์
- จะทําอย่างไรหากคุณมีอาการของ โรคเอ็มพ็อกซ์
- จะทําอย่างไรหากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคเอ็มพ็อกซ์
- จะต้องทำอะไร หากคุณถูกระบุว่าเป็นผู้สัมผัส โรคเอ็มพ็อกซ์
- การป้องกันโรคเอ็มพ็อกซ์
- การรักษาโรคเอ็มพอกซ์
- การฉีดวัคซีนโรคเอ็มพ็อกซ์
- จะขอความช่วยเหลือได้ที่ไหน
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเอ็มพ็อกซ์ รวมถึงคุณสมบัติและการเข้าถึงวัคซีนได้ที่ หน้าข้อมูลและคำแนะนำเรื่องโรคเอ็มพ็อกซ์ที่ Health.vic
โรคเอ็มพ็อกซ์คืออะไร?
โรคเอ็มพ็อกซ์ (เดิมชื่อ monkeypox) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสฝีดาษลิง โดยปกติจะทําให้เกิดการเจ็บป่วยเล็กน้อยด้วยการมีผื่น ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสทางกายหรือการสนิทสนมทางเพศเป็นเวลานาน (ผิวหนังต่อผิวหนัง) กับผู้ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ คนส่วนใหญ่หายภายในสองสามสัปดาห์
โรคเอ็มพ็อกซ์แพร่กระจายอย่างไร
โรคเอ็มพ็อกซ์แพร่กระจายได้ไม่ง่ายระหว่างคน โดยปกติจะแพร่กระจายจากคนสู่คนโดยการสัมผัสทางกายหรือการสนิทสนมทางเพศเป็นเวลานานกับผู้ที่เป็นโรคเอ็มพอกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีผื่นที่ผิวหนัง รอยโรค แผลอักเสบหรือสะเก็ด
นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับเสื้อผ้าหรือสิ่งของ (เครื่องนอนหรือผ้าเช็ดตัว) ที่ผู้ติดเชื้อใช้และผ่านฝอยละอองน้ำมูกน้ำลาย (ไอและจาม)
ไม่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสแบบผิวเผิน
คนติดเชื้อตั้งแต่เริ่มมีอาการแรกจนกระทั่งรอยโรคทั้งหมดแข็งตัว แห้งและหลุดออก พร้อมกับมีชั้นผิวหนังใหม่ขึ้นด้านล่าง
ใครบ้างที่มีความเสี่ยง
ใครก็ตามที่มีการสัมผัสทางกายหรือการสนิทสนมทางเพศเป็นเวลานาน (การสัมผัสทางผิวหนัง) กับผู้ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ สามารถติดเชื้อได้
คนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือชายรักร่วมเพศ(เกย์) คนสองเพศและผู้ชายคนอื่น ๆ ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย คนที่กำลังเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดและคนที่มีคู่นอนหลายคนหรือเข้าร่วมงานปาร์ตี้ขนาดใหญ่หรือมีเพศสัมพันธ์ในสถานที่จัดงาน
อาการของโรคเอ็มพ็อกซ์
อาการของโรคเอ็มพ็อกซ์อาจพัฒนาได้ถึง 21 วันหลังจากสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
อาการอาจรวมถึงผื่นที่อาจเจ็บปวดและส่งผลต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายรวมถึง:
- อวัยวะสืบพันธุ์
- บริเวณรอบทวารหนักและก้น
- ภายในปาก
- ใบหน้า
- มือและแขน
- เท้าและขา
ผื่นอาจนำไปสู่เม็ดพุพอง ตุ่มหนอง สิวหรือแผลเปื่อยและอาจมีจํานวนรอยโรคแตกต่างกัน ผื่นอาจเปลี่ยนแปลงและผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เช่น อีสุกอีใส ก่อนที่จะกลายเป็นสะเก็ดที่หลุดออกในที่สุด
อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นก่อนหรือพร้อมกันกับผื่นรวมถึง:
- ไข้
- หนาวสั่น
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
- การหมดแรง
- ปวดศีรษะ
- เจ็บคอ
- การปวดทวารหนักและลำไส้ตรง
- การปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
อาการอาจคล้ายกับการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) เช่นเริมหรือซิฟิลิสเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ ที่มีผื่นเช่นหัดหรืออีสุกอีใส
คนส่วนใหญ่มีอาการป่วยเล็กน้อยและหายภายในสองสามสัปดาห์ แต่บางคนอาจมีอาการรุนแรงและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เด็ก หญิงมีครรภ์และคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาเป็นโรครุนแรง
จะทําอย่างไรหากคุณมีอาการของ
โรคเอ็มพ็อกซ์
หากคุณมีอาการของโรคเอ็มพ็อกซ์ คุณควรอยู่บ้าน จํากัดการสัมผัสกับผู้อื่นและไปพบแพทย์และทดสอบ
หากคุณมีอาการ โปรดติดต่อผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือบริการด้านสุขภาพที่ใกล้ที่สุดเพื่อขอคําแนะนํา ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการปกปิดผื่น รอยโรค แผลอักเสบหรือสะเก็ด หากคุณไปตรวจตามนัด
จะทําอย่างไรหากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น
โรคเอ็มพ็อกซ์
ผู้ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น โดยเฉพาะเด็ก หญิงมีครรภ์และคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ รวมถึงสัตว์เลี้ยง เนื่องจากความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายจากคนสู่สัตว์
รอจนกว่ารอยโรคที่ผิวหนังทั้งหมดจะหายโดยมีชั้นผิวหนังใหม่ก่อตัวอยู่ข้างใต้ ก่อนที่จะกลับมาทํากิจกรรมตามปกติ นัดติดตามผลกับแพทย์ของคุณเพราะแพทย์จะบอกได้ว่าคุณปลอดโรคแล้วและให้คําแนะนําเพิ่มเติมหากจําเป็น เช่น จะต้องใช้ถุงยางอนามัยนานแค่ไหนเมื่อมีเพศสัมพันธ์หลังหายจากโรค
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากหน่วยสาธารณสุขในพื้นที่ของคุณ (LPHU) หรือกระทรวงสาธารณสุขจะติดต่อคุณมาเพื่อดูว่าคุณเป็นอย่างไรบ้าง พวกเขาจะช่วยระบุคนอื่น ๆ ที่คุณอาจเคยสัมผัสในขณะที่คุณติดเชื้อ เพื่อแจ้งเตือนพวกเขาถึงความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ พวกเขาจะแจ้งคนที่คุณสัมผัสโดยไม่เปิดเผยตัวตนของคุณ
จะต้องทำอะไร หากคุณถูกระบุว่าเป็นผู้สัมผัส
โรคเอ็มพ็อกซ์
หากคุณถูกระบุว่าเป็นผู้สัมผัส ให้เฝ้าสังเกตอาการ ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขในปัจจุบันและคําแนะนําจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
การป้องกันโรคเอ็มพ็อกซ์
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคเอ็มพ็อกซ์เป็นมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องฉีดสองเข็มเพื่อป้องกันโรคที่รุนแรงได้ดีที่สุด ไม่มีวัคซีนใดที่มีประสิทธิภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ และผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วก็อาจเกิดการติดเชื้อได้
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนที่ต้องสงสัยหรือได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ ซึ่งรวมถึงการสัมผัสกับวัสดุที่เป็นไปได้ว่าปนเปื้อน เช่น เครื่องนอนหรือผ้าเช็ดตัว
พิจารณาการจํากัดจํานวนคู่นอนของคุณและมีรายละเอียดการติดต่อของพวกเขา พิจารณาการจํากัดคู่นอนเป็นเวลาสามสัปดาห์หลังจากกลับจากประเทศที่มีการระบาดของโรคเอ็มพ็อกซ์
รักษาสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
หากคุณไม่ได้รับการฉีดวัคซีน หรือได้รับเพียงเข็มเดียวและสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์มาแล้ว การได้รับวัคซีน (ควรภายในสี่วันหลังการสัมผัส) อาจลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอ็มพ็อกซ์ พูดกับแพทย์ทั่วไปหรือคลินิกสุขภาพทางเพศของคุณเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน
การรักษาโรคเอ็มพอกซ์
โดยปกติคนส่วนใหญ่มีอาการป่วยเล็กน้อยและหายภายในสองสามสัปดาห์ มีการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสําหรับโรคที่รุนแรง ดังนั้นการทดสอบตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงมีความสําคัญ
การฉีดวัคซีนโรคเอ็มพ็อกซ์
ในรัฐวิกตอเรีย ให้วัคซีนโรคเอ็มพอกซ์ฟรีสําหรับผู้ที่มีสิทธิ์
ซึ่งสามารถใช้เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อและโรครุนแรงใน:
- กลุ่มผู้เสี่ยงสูงที่มีสิทธิ์
- บางคนซึ่งได้มีการสัมผัสโรคเอ็มพ็อกซ์ที่มีความเสี่ยงสูงเมื่อไม่นานมานี้
คนที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว ควรพูดคุยกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของตนว่าจะได้รับเข็มสองเมื่อใด คุณจำเป็นต้องได้รับวัคซีน 2 เข็มเพื่อการป้องกันที่ดีที่สุด
วัคซีนโรคเอ็มพ็อกซ์ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีประสิทธิภาพ
วัคซีนโรคเอ็มพ็อกซ์มีให้ทั่วไปผ่านคลินิกสุขภาพทางเพศ โรงพยาบาลของรัฐ แพทย์ทั่วไป บริการสุขภาพของชาวอะบอริจิน เทศบาลบางแห่งและร้านขายยาชุมชน หน่วยสาธารณสุขในพื้นที่ของคุณสามารถช่วยคุณค้นหาผู้ให้บริการในพื้นที่ของคุณได้
จะขอความช่วยเหลือได้ที่ไหน
- กรุณาเรียกรถพยาบาลเสมอในกรณีฉุกเฉิน (Triple Zero) โทร. 000
- แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลใกล้บ้านคุณ
- จีพี (แพทย์) ของคุณ
- NURSE-ON-CALL โทร. 1300 60 60 24 (24 ชั่วโมง 7 วัน) – สําหรับคําแนะนําด้านสุขภาพที่เป็นความลับจากพยาบาลวิชาชีพ
- Melbourne Sexual Health Centre โทร. (03) 9341 6200 หรือ 1800 032 017 หรือ TTY (สําหรับผู้พิการทางการได้ยิน) โทร. (03) 9347 8619
- เครือข่ายสุขภาพทางเพศแห่งรัฐวิกตอเรีย – ไปรับการตรวจได้ที่ไหน – ไปที่คลินิก GP ที่เป็นพันธมิตรของศูนย์สุขภาพทางเพศเมลเบิร์นเพื่อการตรวจสุขภาพและการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- Thorne Harbour Health (เดิมชื่อ Victorian AIDS Council) โทร. (03) 9865 6700 หรือ 1800 134 840
- Emen8 - ค้นหาศูนย์สุขภาพทางเพศที่ใกล้ที่สุดของคุณ
- ค้นหาหน่วยสาธารณสุขในพื้นที่ของฉัน
This page has been produced in consultation with and approved by: